Event

Palmex Thailand 2025 – เวทีสำคัญสำหรับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันไทยและอาเซียน!

เตรียมพบกับ Palmex Thailand 2025 ซึ่งจะจัดขึ้นวันที่ 7-8 สิงหาคม 2025 ณ สหกรณ์สุราษฎร์ธานี (โคอ๊อป) จ.สุราษฎร์ธานี งานนี้กลับมาอีกครั้งพร้อมยกระดับมาตรฐานของงานแสดงสินค้าและเทคโนโลยีสำหรับอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประเทศ! ปีที่ผ่านมา งาน Palmex Thailand ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งใหญ่ โดยมีผู้เข้าชมงานกว่า 3,000

Read More
Regional News

อินโดนีเซียวางยุทธศาสตร์สู่การเป็นผู้กำหนดราคาน้ำมันปาล์มโลก

กระทรวงเกษตรอินโดนีเซียตั้งเป้าผลักดันประเทศให้เป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดของโลกภายในปี 2568 เพื่อเสริมศักยภาพในการกำหนดราคาสินค้าในตลาดโลก นายซูดาโยโน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตร ระบุว่า เกษตรกรและผู้ประกอบการน้ำมันปาล์มต้องตระหนักถึงความสำคัญของพื้นที่เพาะปลูกที่มีบทบาทเชิงยุทธศาสตร์ต่อเศรษฐกิจประเทศ พร้อมเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ อินโดนีเซียยังมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ปาล์มน้ำมันคุณภาพสูง สามารถคัดกรองความเหมาะสมของเมล็ดพันธุ์ก่อนการเพาะปลูก ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันของประเทศให้ได้มาตรฐานระดับสากล ในด้านพลังงานทางเลือก อินโดนีเซียใช้ไบโอดีเซล B50 เป็นเครื่องมือเชิงกลยุทธ์ แม้ตลาดโลกอาจยังไม่ให้ความสนใจมากนัก แต่การใช้ B50 ภายในประเทศช่วยให้สามารถรองรับผลผลิตน้ำมันปาล์มส่วนเกินได้อย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลอินโดนีเซียยังได้วางแผนบริหารจัดการปริมาณน้ำมันปาล์มระหว่างการส่งออกและการใช้ภายในประเทศอย่างรอบคอบ

Read More
Cover Story

แนวทางฟื้นอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไนจีเรีย! 4 กลยุทธ์สำคัญจากประเทศผู้นำตลาดโลก

ไนจีเรียมีพื้นที่เพาะปลูกปาล์มน้ำมันมากที่สุดแห่งหนึ่งในโลก แต่เทคโนโลยีด้านการผลิตน้ำมันปาล์มยังคงตามหลังประเทศอื่น จากรายงานของ Vestance ในหัวข้อ “ยุคแห่งการฟื้นฟูและการกลับมาของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไนจีเรีย’’ ระบุว่าไนจีเรียเคยเป็นผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ระหว่างช่วงปี พ.ศ. 2493-2503 ในรัฐต่าง ๆ เช่น รัฐคาลาบาร์และรัฐริเวอร์สที่เป็นผู้ผลิตหลักในช่วงนั้น ในขณะที่มาเลเซียและอินโดนีเซียได้พัฒนาวิธีการเพาะปลูกจนกลายเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ในปัจจุบัน แต่ไนจีเรียกลับมีอันดับลดลง รายงานระบุว่า“อุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มของไนจีเรียอยู่ในช่วงจุดเปลี่ยนสำคัญ เนื่องจากยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเปราะบางต่อปัจจัยภายนอกสูง รวมถึงแนวโน้มด้านความยั่งยืนที่อาจเป็นอุปสรรคต่อแผนการขยายตัวและการผลิตที่เพิ่มขึ้น” “ไนจีเรียสามารถวางตัวเป็นผู้เล่นและสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

Read More
Innovations and Technology

เทคโนโลยี DPMO รุ่นใหม่ เผยศักยภาพ สร้างกำไรเหนือกว่าน้ำมันปาล์มดิบ

เทคโนโลยีการกำจัดยางเหนียวจากน้ำมันจากเนื้อปาล์ม (DPMO) กำลังปฏิวัติวงการน้ำมันปาล์ม ด้วยกระบวนการผลิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ประสิทธิภาพสูง และสร้างผลกำไรได้มากกว่าการผลิตน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) แบบเดิม นายซาฮัต ซินากา ผู้อำนวยการสมาคมโรงกลั่นน้ำมันพืชอินโดนีเซีย (GIMNI) กล่าวว่า “เทคโนโลยีใหม่จะช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนในกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์ม เดิมทีอุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันใช้กระบวนการสกัดน้ำมันปาล์มดิบแบบการอบทะลายปาล์มด้วยไอน้ำที่ก่อให้เกิดการปล่อยก๊าซคาร์บอนสูง แต่ได้พัฒนากระบวนการผลิตแบบใหม่เป็นแบบแห้ง โดยใช้เทคนิคการพาสเจอร์ไรซ์ที่ปล่อยก๊าซคาร์บอนน้อยกว่า” “จากข้อสังเกตนี้จึงเสนอให้ใช้วิธีการผลิตแบบแห้งในการแปรรูปทะลายปาล์มสด (FFB) ด้วยเทคโนโลยีการกำจัดยางเหนียวจากน้ำมันจากเนื้อปาล์มแทนการผลิตน้ำมันปาล์มดิบแบบเดิม

Read More
Commentary

ความท้าทายของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทยในการปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับของ EU

โครงสร้างห่วงโซ่อุปทานของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทยที่มีความซับซ้อน ทำให้การตรวจสอบย้อนกลับและการปฏิบัติตามกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า (EUDR) ของสหภาพยุโรปเป็นเรื่องที่ท้าทายมากขึ้น   การตรวจสอบย้อนกลับเป็นหนึ่งในข้อกำหนดสำคัญของ EUDR ซึ่งกำหนดให้สินค้าต้องสามารถระบุแหล่งที่มาได้อย่างชัดเจน เพื่อให้มั่นใจว่าไม่ได้มาจากพื้นที่ที่มีการตัดไม้ทำลายป่า องค์กรเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยปาล์มน้ำมันยั่งยืน (RSPO) เปิดเผยกับ Food Navigator ว่าอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มมีความก้าวหน้าอย่างมากในการปฏิบัติตามกฎหมายฉบับนี้ อย่างไรก็ตาม โครงสร้างของห่วงโซ่อุปทานปาล์มน้ำมันไทยที่ประกอบด้วยผู้ผลิตรายย่อยจำนวนมาก ส่งผลให้การตรวจสอบย้อนกลับและการปฏิบัติตามข้อกำหนดยากกว่าประเทศผู้ผลิตรายใหญ่อื่น ๆ เกษตรกรรายย่อยถือครองตลาดเป็นส่วนใหญ่

Read More
World News

ไนจีเรียตั้งเป้าปลดล็อกศักยภาพการส่งออกน้ำมันปาล์มมูลค่าหมื่นล้านดอลลาร์

ไนจีเรียกำลังเร่งฟื้นฟูอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มเพื่อปลดล็อกศักยภาพการส่งออกที่มีมูลค่าสูงถึง 10,000 ล้านดอลลาร์ แม้เคยเป็นผู้ผลิตรายสำคัญของโลก แต่ปัจจุบันไนจีเรียอยู่ในอันดับที่ 78 ของประเทศผู้ส่งออกน้ำมันปาล์ม โดยมีมูลค่าการส่งออกเพียง 1.34 ล้านดอลลาร์ ขณะที่ต้องนำเข้าในปริมาณมากถึง 372 ล้านดอลลาร์ต่อปี บริษัทวิจัย Vestance ได้เผยแพร่รายงาน “ยุคแห่งการฟื้นฟูและการกลับมาของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไนจีเรีย” เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม

Read More
Regional News

อินโดนีเซียเตรียมบังคับใช้โครงการไบโอดีเซล B40 เต็มรูปแบบในปี 2568

เดินหน้าสู่การใช้น้ำมันปาล์ม 40% ในดีเซล พร้อมแผนเพิ่มสัดส่วนเป็น B50 ภายในปี 2569 รัฐบาลอินโดนีเซียประกาศเลื่อนการบังคับใช้นโยบายไบโอดีเซล B40 ออกไปเป็นเดือนกุมภาพันธ์ 2568 จากเดิมที่กำหนดเริ่มต้นในวันที่ 1 มกราคม 2568 เพื่อให้ภาคธุรกิจมีเวลาปรับตัวอีก 1.5 เดือน นโยบายนี้กำหนดให้ผสมน้ำมันปาล์ม 40%

Read More
Regional News

MKH Oil Palm ชี้แนวโน้มปีงบประมาณปี 68 ได้รับแรงหนุนจากความต้องการน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) ที่เพิ่มขึ้น

บริษัท MKH Oil Palm (East Kalimantan) Bhd คาดการณ์ว่าแนวโน้มธุรกิจในปีงบประมาณสิ้นสุดวันที่ 30 กันยายน 2568 จะยังคงเติบโตอย่างมั่นคง โดยได้รับแรงสนับสนุนจากความต้องการน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในตลาดโลก นายตัน ศรี อเล็กซ์ เฉิน คู

Read More
Regional News

อินโดฯ-มาเลย์ร่วมมือเผชิญความท้าทายระดับโลกในอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม

ผลผลิตน้ำมันปาล์มอินโดนีเซียและมาเลเซียคิดเป็นสัดส่วน 80% ของการผลิตน้ำมันปาล์มทั่วโลก ซึ่งทั้งสองประเทศได้ตกลงร่วมมือในอุตสาหกรรมนี้ โดยปราโบโว ซูเบียนโต ประธานาธิบดีประเทศอินโดนีเซียแถลงข่าวร่วมกับอันวาร์ อิบราฮิม นายกรัฐมนตรีประเทศมาเลเซียที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 27 มกราคมที่ผ่านมา “เราได้ทำข้อตกลงในการร่วมมือกันทุกด้าน เนื่องจากเราเป็นประเทศผู้ผลิตน้ำมันปาล์มรายใหญ่ที่สุดของโลก” นายปราโบโวกล่าวพร้อมเน้นย้ำความสำคัญของน้ำมันปาล์มในฐานะสินค้าโภคภัณฑ์ที่มีความต้องการสูงในหลายประเทศ เช่น อียิปต์ อินเดีย และปากีสถาน นายปราโบโวแสดงความขอบคุณประเทศมาเลเซียที่ให้การสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่องในการแก้ไขปัญหาระดับโลกที่ผู้ผลิตน้ำมันปาล์มต้องเผชิญ

Read More